จดทะเบียนบริษัท

ค่าบริการ 3,500 บาท

(ราคานี้ลดพิเศษ จนถึง 31 พ.ค. 2560)
(ค่าบริการดังกล่าว ลดให้เฉพาะ ที่จดทะเบียนในเขต กรุงเทพฯ และ ปริมณฑล เท่านั้น)
(กรณี ทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท หรือมีต่างชาติร่วมถือหุ้นหรือเป็นกรรมการ ค่าบริการจะเรียกเก็บเพิ่ม ตามความเหมาะสม)

ประมาณการค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งบริษัท สำหรับเงินทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1 ล้านบาท

ประมาณการค่าใช้จ่ายสำหรับทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1 ล้านบาท
บาท

ค่าบริการจดทะเบียนบริษัท

(ลดพิเศษ ปกติราคา 5,000 บาท เฉพาะวันนี้ ถึง สิ้นเดือน พฤษภาคม 2560 เท่านั้น)

3,500
ขอหมายเลขผู้เสียภาษี
– 0 –
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- 0 -
จัดทำตราประทับ
500
บวก ค่าธรรมเนียม – กรมพัฒนาธุรกิจและการค้า
6,500
บวก ค่าเดินทางไปจดทะเบียน ณ จังหวัดท่าน (หมายเหตุ 3)
?

รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น
(เฉพาะ กรุงเพทฯ , นนทบุรี , ปทุมธานี และ สมุทรปราการ เท่านั้น)

10,500

หมายเหตุ

  1. กรณีมีชาวต่างชาติ ร่วมถือหุ้นหรือ ร่วมเป็นกรรมการ ค่าบริการดังกล่าว คิดเพิ่ม 3,000 บาท
  2. การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต่างจังหวัด(ไม่ใช่อำเภอเมือง) เราจะจดผ่านระบบอินเตอร์เน็ท /หรือไม่ ท่านต้องอำนวยความสะดวกในการเดินทางระหว่างอำเภอ
  3. เราให้บริการ จดทะเบียนทั่วประเทศ โดยคิดค่าเดินทางเพิ่ม 1,000 บาท ทุกจังหวัด เว้นแต่
    • ในเขตกรุงเทพฯ ไม่คิดค่าเดินทาง
    • คิดเพียงแค่ 500 บาท สำหรับ จังหวัดสมุทรปราการ / นนทบุรี / ปทุมธานี

ครอบคลุมขอบเขตบริการต่างๆ ดังต่อไปนี้

ขั้นตอน
ขั้นตอน
ดำเนินการโดย
1. – วันจันทร์

ดำเนินการจองชื่อบริษัท จะได้รับอนุมัติชื่อภายใน 20 นาที (บางครั้งเป็นชั่วโมง)

ดำเนินการจัดเตรียมเอกสาร เพื่อให้ท่าน (กรรมการ/ ผู้ก่อการ/ ผู้ถือหุ้น/ พยาน) สามารถลงลายมือชื่อในเอกสารแบบฟอร์มการจดทะเบียน

 

นาราการบัญชี
2. – วันอังคาร

ดำเนินการจดทะเบียนที่กรมพัฒนาธุรกิจและการค้า(พาณิชย์จังหวัด) เมื่อดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเสร็จ ท่าน(กรรมการ) สามารถลงลายมือชื่อในเอกสารสำหรับจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดำเนินการจดทะเบียนขอบัตรผู้เสียภาษีและจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วเสร็จในวันเดียวกัน (จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายเหตุ 1)

 

นาราการบัญชี

ความรู้เพิ่มเติม - ที่ควรทราบ       ขอให้ข้อสังเกตุเกี่ยวกับการจดทะเบียนบริษัท ไว้ดังนี้

  1. ทุนจดทะเบียน ควรจดขั้นต่ำ 1 ล้านบาท แต่อาจเรียกชำระเพียงแค่ 25% เพื่อลดปัญหาในเรื่องของข้อจำกัดเกี่ยวกับเงินทุนที่นำมาลง และภาษีที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับภาษีของบริษัทภายหลังการจดทะเบียน
  2. ค่าธรรมเนียม สำหรับทุนจดทะเบียน กรมพัฒนาธุรกิจและการค้า จะเรียกเก็บในอัตราคงที่ต่อทุนจดทะเบียนหลักล้านบาท นั้นหมายถึงหากท่านจดทะเบียนด้วยทุน 5 แสนบาท (น้อยกว่า 1 ล้านบาท) ค่าธรรมเนียมก็เป็นจำนวนเดียวกันกับจดทะเบียนด้วยทุน 1 ล้านบาท
  3. การถือหุ้นโดยคนต่างชาติหรือบริษัทต่างชาติ ในกรณีที่มีการลงทุนต่ำกว่า 50% หรือมีชาวต่างชาติร่วมเป็นกรรมการ ผู้ถือหุ้นคนไทยทุกคนต้องแสดงแหล่งที่มาของเงินทุน ที่ออกโดยธนาคาร (อ้างถึง คำสั่ง สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท เลขที่ 205/5555)
  4. รอบบัญชี เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณา โดยส่วนใหญ่บริษัททั่วไปจะกำหนดรอบบัญชีสิ้นสุด 31 ธ้ันวาคม ซึ่งจะง่ายต่อการจดจำ กำหนดการทางภาษีและการยื่นงบการเงิน อย่างไรก็ตามท่านสามารถเลือกรอบบัญชีได้เองแต่ต้องไม่เกิน 365 วัน หากจำเป็นต้องเลือกเป็นรอบอื่น (นอกจาก 31 ธันวาคม) ท่านควรกำหนดวันสิ้นรอบเป็นวันสิ้นเดือนเพื่อให้ง่ายต่อการจัดทำบัญชีและการนำยื่นภาษีต่างๆ

เอกสารที่ต้องการ สำหรับจดทะเบียนบริษัท ได้แก่

  1. สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการ พร้อมรับรองสำเนา
  2. สำเนาบัตรประชาชนของผู้ก่อการ พร้อมรับรองสำเนา
  3. สำเนาบัตรประชาชนของพยาน พร้อมรับรองสำเนา
  4. สำเนาทะเบียนบ้าน สำหรับสถานที่จดทะเบียนบริษัท

เอกสารที่ต้องการ สำหรับขอบัตรผู้เสียภาษี ใช้เอกสารประกอบ ดังต่อไปนี้

  1. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลจากกระทรวงพาณิชย์ กรรมการลงนามและ ประทับตราสำคัญ (ไม่เกิน 60 วัน นับจากวันที่จดทะเบียน ถ้าเกินกำหนด ปรับ 500 บาท)
  2. สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของกรรมการพร้อมลงลายมือชื่อ 1 ชุด
  3. แบบ ล.ป.10.3
  4. หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่
  5. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้าน 1 ชุด

หมายเหตุ

  • กรณีเจ้าของสถานที่เป็นนิติบุคคลให้แนบสำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์ และสำเนาบัตรประชาชนของกรรมการมาด้วย
  • ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 กรมสรรพากรให้ยกเลิกเลขผู้เสียภาษีที่ออกโดยกรมสรรพากร และให้ใช้ เลขทะเบียนนิติบุคคลที่ออกโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แทน

เอกสารที่ต้องการสำหรับ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ใช้แบบคำขอ แบบ ภ.พ.01 (จำนวน 5 ฉบับ) และ แบบ ภ.พ.01.1 (จำนวน 3 ฉบับ) เอกสารประกอบ ได้แก่

  1. สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ
  2. สำเนาทะเบียนบ้านกรรมการผู้มีอำนาจ
  3. สำเนาหนังสือรับรองกระทรวงพาณิชย์ไม่เกิน 6 เดือน
  4. สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ
  5. สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)
  6. สำเนาใบสำคัญแสดงรายการจดทะเบีียนห้างหุ้นส่วน/บริษัท
  7. บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีของบริษัท (หากจดทะเบียนตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ 2555 ไม่ต้องใช้บัตรผู้เสียภาษี)
  8. หนังสือยินยอมให้ใช้สถานประกอบการ
  9. สำเนาทะเบียนบ้านของสถานประกอบการ
  10. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้าน ถ้ากรรมสิทธิ์ในอาคารเป็นของนิติบุคคล ต้องนำหนังสือรับรองนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้นมาด้วย
  11. แผนที่ตั้งพอสังเขป 2 ชุด (พร้อมรับรองสำเนา)
  12. รูปถ่ายสถานประกอบการ 2 ชุด (ถ่ายให้เห็นชื่อบริษัทและเลขที่บ้านสถานประกอบการอย่างชัดเจนพร้อมรับรองสำเนา)
  13. ตราประทับ
  14. หนังสือขอใช้สิทธิ์แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

หมายเหตุ เอกสารตามข้อ 3 - 6 จะต้องมีตราประทับนายทะเบียนรับรองรองเอกสาร (ฉบับขอคัด)

ข้อมูลเพิ่มเติม - การจดทะเบียนบริษัทจำกัด

บริษัทจำกัด คือบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นแต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ โครงสร้างของ "บริษัทจำกัด"

  1. ต้องมีผู้ร่วมลงทุน อย่างน้อย 3 คน
  2. แบ่งทุนออกเป็นหุ้น และมีมูลค่าหุ้นละเท่าๆ กัน
  3. มูลค่าหุ้นจะต้องไม่ต่ำกว่า 5 บาท
  4. ความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นมีจำกัด (เฉพาะจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ)
  5. ต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

การดำเนินการจัดตั้งบริษัทจำกัด 

ในการจัดตั้งบริษัทจำกัดนั้น จะต้องดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังนี้

  1. ต้องมีผู้เริ่มก่อการตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป เข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิขึ้น แล้วไปจดทะเบียน
  2. เมื่อได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องจัดให้หุ้นของบริษัทที่จะตั้งขึ้นนั้นมีผู้ เข้าชื่อจองซื้อหุ้นจนครบ
  3. ดำเนินการประชุมตั้งบริษัท โดยต้องส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมให้ผู้จองทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน ก่อนวันประชุม
  4. เมื่อได้ประชุมตั้งบริษัท และที่ประชุมได้แต่งตั้งกรรมการบริษัทแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องมอบหมายกิจการให้กรรมการบริษัทรับไปดำเนินการต่อไป
  5. กรรมการบริษัทเรียกให้ผู้เริ่มก่อการและผู้จองหุ้นชำระค่าหุ้นอย่างน้อยร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น (ทุนของบริษัทจะแบ่งเป็นกี่หุ้นก็ได้แต่ต้องไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท)
  6. เมื่อได้รับเงินค่าหุ้นแล้ว กรรมการต้องไปจดทะเบียนเป็นบริษัทภายใน 3 เดือน ภายหลังจากการประชุมตั้งบริษัท
  7. ในการจัดตั้งบริษัท ถ้าได้ดำเนินการทุกขั้นตอนดังต่อไปนี้ ภายในวันเดียวกับวันที่ผู้เริ่มก่อการจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ กรรมการจะจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจดทะเบียนตั้งบริษัทไปพร้อมกันภายในวันเดียวก็ได้
    1. จัดให้มีผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นครบตามจำนวนหุ้นทั้งหมดที่บริษัทจะจดทะเบียน
    2. ประชุมจัดตั้งบริษัท  เพื่อพิจารณากิจการต่างๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1108 โดยมีผู้เริ่มก่อการและผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนเข้าร่วมประชุม และผู้เริ่มก่อการ และผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคน ให้ความเห็นชอบในกิจการที่ได้ประชุมกันนั้น
    3. ผู้เริ่มก่อการได้มอบกิจการทั้งปวงให้แก่กรรมการบริษัท
    4. กรรมการได้เรียกให้ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น ใช้เงินค่าหุ้น โดยจะเรียกครั้งเดียวเต็มมูลค่าหรือไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้า ตามมาตรา 1110 วรรคสองก็ได้  และผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนได้ชำระเงินค่าหุ้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว

ทำธุรกิจอะไร ขออนุญาติอะไร และ ติดต่อ หน่วยงานไหน (อยู่ระหว่าง การรวบรวมข้อมูล)

จดทะเบียนบริษัท เพื่อทำธุรกิจ ขายของผ่านเว็บไซท์ e-Commerce

การทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือทำธุรกิจออนไลน์ ขายสินค้า e-Commerce
การทำธุรกิจออนไลน์ เป็นการเริ่มต้นธุรกิจที่ตัดค่าใช้จ่ายการเปิดหน้าร้าน/บริหารจัดการ สามารถขยายตลาดในวงกว้าง และเริ่มต้นได้ทันทีเหมาะสมกับยุคสมัย เป็นที่นิยมของลูกค้า อีทั้งบริการได้ทุกวันตลอดเวลา อย่างไรก็ตามต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน การวางระบบการจัดหาสินค้าที่เหมาะสม การจัดส่ง และการชำระเงินที่น่าเชื่อถือ
ทั้งนี้ผู้ประกอบการธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จะต้องจดทะเบียน จัดตั้งเป็นหน่วยธุรกิจ ซึ่งอาจอยู่ในรูป

  1. นิติบุคคล (ตามบริการที่เสนอข้างต้น) หรือ
  2. อยู่ในรูปบุคคลธรรมดา เป็นแบบทะเบียนพาณิชย์ ก็ต้องไปจดทะเบียนที่ สำนักงานเขต (ในกรุงเทพฯ) เมืองพัทยา เทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หลังจากนั้น

กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะทำการประเมินคุณสมบัติของเว็บไซต์ที่มีการจดทะเบียนพาณิชย์เพื่อให้เครื่องหมายรับรอง DBD registered (เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ) โดยผู้ประกอบธุรกิจสามารถนำเครื่องหมายดังกล่าวไปติดบนเว็บไซต์ของตน อันเป็นการยืนยันการมีตัวตนอยู่จริงของผู้ประกอบกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคในการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น

เว็บไซต์ www.trustmarkthai.com  เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการตรวจสอบข้อมูลธุรกิจและยืนยันตัวตนของผู้ประกอบการ e-Commerce ที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า  เพื่อสร้างความมั่นใจเบื้องต้นใหผู้บริโภคก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการออนไลน์

จดทะเบียนบริษัทเพื่อขอใบอนุญาตทำงาน และวีซ่าทำงาน

ปกติการขอใบอนุญาตทำงาน บริษัทจะต้องมีความพร้อม ครบเงื่อนไขทุกข้อดังนี้ครับ

  1. จดทะเบียนบริษัทด้วยทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาท (หากมีสถานแต่งงานกับคนไทย ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท)
  2. มีสถานที่ทำงาน ชัดเจน
  3. จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  4. ว่าจ้างพนักงานไทย อย่างน้อย 4 คน
  5. กรรมการคนไทย เซ็นต์แบบคำขอ ต่างๆ (ถ้าไม่มีกรรมการคนไทย จะยุ่งยากมากๆ)

ถึงแม้ว่า ท่านจะจดทะเบียนตามข้อกำหนดข้างต้น แต่กระบวนการขอใบอนุญาตทำงาน และวีซ่าทำงาน ยังคงซับซ้อน และยุ่งยากไม่้น้อย  ดังนั้น หากท่านไม่มีธุรกิจจริง จึงไม่ควรจดทะเบียนเพื่อขอใบอนุญาตทำงาน

จดทะเบียนบริษัท เพื่อทำธุรกิจ ท่องเที่ยว

(อยู่ระหว่าง การรวบรวมข้อมูล)

จดทะเบียนบริษัท เพื่อทำธุรกิจ จัดหางาน

(อยู่ระหว่าง การรวบรวมข้อมูล)

จดทะเบียนบริษัท เพื่อทำธุรกิจ ร้านอาหาร ขายอาหารและเครื่องดื่ม

(อยู่ระหว่าง การรวบรวมข้อมูล)

จดทะเบียนบริษัท เพื่อทำธุรกิจ นำเข้า ส่งออก

(อยู่ระหว่าง การรวบรวมข้อมูล)

จดทะเบียนบริษัท เพื่อทำธุรกิจ สถาบันสอนภาษา ที่ไม่ใช้โรงเรียนตามกฎกระทรวงศึกษาธิการ

(อยู่ระหว่าง การรวบรวมข้อมูล)

จดทะเบียนบริษัท เพื่อขอรับการส่งเสริม บีโอไอ BOI

(อยู่ระหว่าง การรวบรวมข้อมูล)

ถาม - ตอบ (QA) - จดทะเบียนบริษัท

ถาม 1 – สำหรับบริษัทที่จดทะเบียนใหม่ ไม่ทราบว่า ทุนจดทะเบียนจะมีผลต่อการเสียภาษีหรือไม่ อย่างไร

ตอบ 1 – แน่นอนครับ ทุนจดทะเบียน หากไม่ได้รับเงินชำระค่าหุ้น เข้ามาลงทุนในกิจการหรือนำฝากธนาคารจริง จะส่งผลต่อการเสียภาษี สำหรับ 2 ประเภท

  1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภงด.50) จัดเก็บจากฐานกำไรสุทธิ สำหรับอัตราภาษีสำหรับปี 2557, 2558 และ 2559 เป็นดังนี้
กำไรสุทธิ
บริษัทที่มีทุนจดทะเบียน ไม่เกิน 5 ล้านบาท สำหรับปี 2559
บริษัทที่มีทุนจดทะเบียน เกิน 5 ล้านบาท สำหรับปี 2559
0 - 300,000
0%
20%
300,001 - 1,000,000
15%
20%
มากกว่า 1,000,000
20%
20%

สำหรับปี 2555 และ 2556 (เพื่อประโยชน์การอ้างอิงเท่านั้น)

กำไรสุทธิ

บริษัทที่มีทุนจดทะเบียน ไม่เกิน 5 ล้านบาท สำหรับปี 2555

บริษัทที่มีทุนจดทะเบียน ไม่เกิน 5 ล้านบาท สำหรับปี 2556 - 2557

บริษัทที่มีทุนจดทะเบียน เกิน 5 ล้านบาท สำหรับปี 2555

บริษัทที่มีทุนจดทะเบียน เกิน 5 ล้านบาท สำหรับปี 2556 - 2557

0 - 150,000

0%

0%

23%

20%

150,001 - 1,000,000

15%

15%

23%

20%

มากกว่า 1,000,000

23%

20%

23%

20%

โดยทั่วไปแล้ว กำไรสุทธิ คำนวณจาก = รายได้ – ค่าใช้จ่าย 2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภธ.40) จัดเก็บจากรายได้ดอกเบี้ยรับ ในอัตรา 3.3%

ขอให้พิจารณาตัวอย่างข้างล่างนี้

  • บริษัทคุณได้นำเงินรับชำระค่าหุ้นฝากธนาคาร  รายได้ในส่วนนี้คือ “ดอกเบี้ยรับ”
  • บริษัทคุณไม่ได้นำเงินรับชำระค่าหุ้น(หรือไม่ได้มีเงินลงทุนจริง) เงินรับค่าหุ้นจะต้องแสดงเป็น “เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ” ด้วยเหตุนี้บริษัทก็ต้องมีรายได้ “ดอกเบี้ยรับ” เช่นกัน

โดยอัตราดอกเบี้ยที่นำมาบังคับใช้คือ 4% ต่อปี (หรือขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าหน้าที่แต่ละท้องที่) กรณีศึกษา :  ทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท ค่าใช้จ่าย 20,000 บาท ต่อปี จำนวนและประเภทภาษีที่ต้องจ่าย เป็นดังนี้ (4%10,000,000 – 20,000 = กำไรสุทธิ = 380,000 บาท)

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภงด.50) =  23%380,000 = 87,400 บาท ต่อปี อัตราภาษีที่ใช้สำหรับปี 2555 คือ อัตรา 23%
  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภธ.40) = 3.3%400,000 = 13,200 บาทต่อปี โดยจะต้องจ่ายเมื่อมีการรับชำระดอกเบี้ยรับดังกล่าว (รวมทั้งสิ้น ต้องจ่าย 100,600 บาท)

คำแนะนำ สำหรับทุนจดทะเบียนของบริษัท แยกตามกรณีดังต่อไปนี้ กรณีที่ 1 จดทะเบียนบริษัทด้วยทุนที่ไม่เกิน 5 ล้านบาท

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภงด.50) =  4,500 บาท
  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภธ.40) = 6,600 บาท

กรณีที่ 2 จดทะเบียนบริษัทด้วยทุนที่ไม่เกิน 5 ล้านบาท แต่เรียกชำระค่าหุ้นเพียงแค่ 25%

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภงด.50) =  0 บาท
  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภธ.40) = 1,650 บาท

กรณีที่ 3 สำหรับทางออกที่ดีที่สุด ขอเสนอดังนี้  จดทะเบียนบริษัทด้วยทุน 1 ล้านบาท แต่เรียกชำระค่าหุ้นเพียงแค่ 25%

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภงด.50) =  0 บาท
  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภธ.40) = 330 บาท

สรุป ในกรณีที่ 3 น่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดครับ เพราะเสียค่าภาษีแค่ 330 บาท (ประหยัดภาษีได้ถึง 100,270 บาท)

ถาม 2 - ภายหลังการจัดตั้งบริษัทเรียบร้อยแล้ว บริษัทมีภาระหน้าที่อย่างไรบ้าง

อยู่ระหว่าง การรวบรวมข้อมูล

 

สรุปแบบแสดงรายการภาษีและกำหนดเวลาการยื่นแบบ  สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่เป็นนิติบุคคล

ถาม 3 – จดภาษีมูลค่าเพิ่ม ดีหรือไม ทำไมต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม

นารา 3 – การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องจดด้วยเหตุผลอย่างใด อย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

  1. ผู้ประกอบที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับภาษีมูลค่าเพิ่ม หากมีรายรับเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีหรือต่อรอบระยะเวลาบัญชี ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเมื่อขายสินค้าหรือให้บริการต้องออกใบกำกับภาษี เพื่อเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้ให้บริการ พร้อมทั้งส่งมอบใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้ให้บริการ
  2. การถูกบังคับโดยคู่ค้า ให้เข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
  3. การทำธุรกิจร่วมกับหน่วยงานราชการ

ข้อดี

  • สำหรับธุรกิจส่งออกสินค้า ผู้ประกอบการ สามารถขอคืนภาษีซื้อ 7% (การส่งออก เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตรา 0%)

ข้อเสีย

  1. ผู้ประกอบการ ต้องมีหน้าที่นำส่ง แบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป แม้ว่าไม่ได้มีรายการซื้อขายก็ตาม
  2. การไม่นำยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือยื่น ผิดพลาด จะมีค่าปรับและเงินเพิ่ม
  3. ผู้ประกอบการที่เข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม จะจัดอยู่ในกลุ่มที่เจ้าหน้าที่สรรพากร สนใจเป็นพิเศษ

หมายเหตุ

ท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติม เรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม อย่างละเอียด ได้ที่ http://www.52accounting.com/znews-029vat.html

 

ถาม 4 – ต้องการจดทะเบียนบริษัท แต่มีชาวต่างชาติมาถือหุ้นด้วย ไม่ทราบว่ามีวิธีการและขั้นตอนที่แตกต่างบริษัทไทยทั่วไป หรือไม่คะ

ตอบ 4 – แน่นอนครับ มีกรรมวิธีที่สับซ้อนกว่าเยอะครับ เนื่องจากบ้านเราค่อนข้างระมัดระวังเกี่ยวกับการเข้ามาทำธุรกิจของชาวต่างชาติ จึงได้มีการออก “พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542” เข้ามาควบคุมการทำธุรกิจของคนต่างด้าว (ไม่ขอพูดในรายละเอียดครับ มันยาวมาก มาก)

ขอสรุปง่ายๆ ดังนี้ครับ ถ้าคนต่างชาติมาถือหุ้นไม่เกิน 49% (ส่วนที่เหลือเป็นคนไทย 51% หรือมากกว่า) ก็ถือเป็นบริษัทไทย ไม่ต้องไปสนใจ พรบ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ดังกล่าว แต่การถือหุ้นโดยคนต่างชาติหรือบริษัทต่างชาติ ในกรณีที่มีการลงทุนต่ำกว่า 50% หรือมีชาวต่างชาติร่วมเป็นกรรมการ ผู้ถือหุ้นคนไทยทุกคนต้องแสดงแหล่งที่มาของเงินทุน ที่ออกโดยธนาคาร (อ้างถึง คำสั่ง สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท เลขที่ 205/5555)

เพิ่มเติมครับ หลักฐานแสดงทีีมาของเงินลงทุนที่ออกโดยธนาคาร จะต้องเป็น หนังสือรับรองที่ธนาคารออกให้เพื่อยืนยันเงินคงเหลือในบัญชี (ไม่ใช่ สำเนาสมุดธนาคารหรือบัญชีเงินฝากธนาคาร) และ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เริ่มบังคับใช้หลักเกณฑ์นี้ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคา 2555

 

ถาม 5 – เงินลงทุนขั้นต่ำ ควรมีอย่างน้อยเท่าไหร่ และต้องแสดงหลักฐานการนำเงินมาลงทุนอย่างไร

ตอบ 5 – ในกรณีของบริษัททั่วไปไม่ได้มีข้อจำกัดเรื่องเงินลงทุน ตามกฎหมายกำหนดให้หุ้นมีมูลค่าอย่างน้อย 5 บาทต่อหุ้น และจะต้องมีอย่างน้อย 3 หุ้น นั้นหมายถึงว่า เงินทุนขึ้นต่ำต้องมีอย่างน้อย 15 บาทครับ แต่ไม่เห็นด้วยนะครับที่จะจดทะเบียนด้วยเงินทุนเท่านี้ เพราะว่า

  • ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียน จะถูกกำหนดเป็นสัดส่วนต่อทุนจดทะเบียนหลักล้านบาท นั้นหมายถึงการจดด้วยทุน 1 ล้านบาท และ ทุน 15 บาท จะมีค่าธรรมเนียมเท่ากันครับ จึงควรจดด้วยทุนจดทะเบียนหลักล้านบาทครับ
  • ต้องดูเงื่อนไขต่างๆ ในการทำธุรกิจด้วย เช่น หากต้องจากชาวต่างชาติเข้าทำงานด้วย ต้องจดทะเบียนด้วยอย่างน้อย 2 ล้านบาท ต่อการว่าจ้างชาวต่างชาติ 1 คน และจะเป็นสัดส่วนอย่างนี้ต่อการว่าจ้างชาวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น
  • ต้องดูขนาดของการทำธุรกิจ เพื่อความเหมาะสม และเพื่อการแสดงฐานะการเงินอย่างน่าเชื่อถือ
  • ขอให้ข้อสังเกตุว่า ท่านอาจจดทะเบียนด้วยทุนตามที่ต้องการได้ เช่น 1 ล้านบาท และอาจแสดงเงินทุนแบบเรียกชำระไม่ครบ เช่น เรียกชำระเพียงแค่ 25% ก่อนในช่วงเริ่มแรก เพื่อเป็นการประหยัดเกี่ยวกับภาษีที่เกี่ยวข้องกับการที่ไม่ได้นำเงินเข้ามาในบริษัท (ดูอ้างอิง การคำนวณภาษี สำหรับเงินทุนจดทะเบียน ตาม ถาม-ตอบ ข้อ 1 ด้านบน)

อันที่จริงแล้ว ณ วันจดทะเบียน ยังไม่ต้องแสดงหลักฐานเกี่ยวกับเงินที่นำมาลงทุน เพียงแค่แสดงในเอกสารและรับรองโดยกรรมการบริษัทเกี่ยวกับการเก็บรักษาเงินลงทุน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วกรรมการจะแจ้งว่าเก็บรักษาไว้โดยกรรมการ และสามารถพูดได้ว่าบริษัทส่วนใหญ่แล้วไม่ได้นำเงินเข้าลงทุนจริง (แค่แจ้งในเอกสารเท่านั้น) ดังนั้น การทำบัญชีจะแสดงเงินที่ไม่ได้นำเข้ามาลงทุนจริงดังกล่าว ในบัญชี เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ และต้องคิดดอกเบี้ยเพื่อเสียภาษี ทั้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีธุรกิจเฉพาะ เพื่อให้สอดคลัองกับหลักการจัดเก็บภาษี เสมือนว่าบริษัทท่านได้นำเงินลงทุนไปฝากธนาคาร

ถาม 6 – ตราประทับบริษัท การจัดทำ มีข้อกำหนดอะไรบ้าง

ตอบ 6 – หลักเกณฑ์การจัดทำดวงตราของห้างหุ้นส่วนและบริษัท ดังต่อไปนี้

  1. ดวงตราของห้างหุ้นส่วนและบริษัทต้องไม่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
    1. เครื่องหมายตรามหาจักรีบรมราชวงศ์
    2. พระบรมราชาภิไธย พระปรมาภิไธยย่อของพระมหากษัตริย์ทุกรัชกาล และพระนามาภิไธยย่อของสมเด็จพระอัครมเหสีหรือสมเด็จพระยุพราช
    3. พระบรมราชสัญลักษณ์ และพระราชสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระอัครมเหสี และสมเด็จพระยุพราช
    4. พระมหามงกุฎ มงกุฎขัตติยราชนารี หรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์อื่นใดที่ใกล้เคียงกับมงกุฎ
    5. ฉัตรต่าง ๆ อันเป็นลักษณะของเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศ
    6. ตราแผ่นดิน ตราราชการ ตราครุฑพ่าห์ ธงหลวง ธงชาติ หรือธงราชการ เว้นแต่จะได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต
    7. พระราชลัญจกร และลัญจกรในราชการ
    8. เครื่องหมายกาชาด ชื่อกาชาด กาเยเนวา เครื่องหมายราชการ หรือเครื่องหมายใด ๆ ที่ขัดต่อรัฐประศาสโนบายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
    9. เครื่องหมายที่ราชการ องค์การ หน่วยงานของรัฐหรือองค์การ ระหว่างประเทศขอสงวนไว้
    10. สัญลักษณ์ประจำชาติไทย ได้แก่ ช้างไทย ดอกราชพฤกษ์ และ ศาลาไทย
  2. ดวงตราจะมีชื่อห้างหุ้นส่วนบริษัทหรือไม่ก็ได้ ในกรณีตรามีชื่อห้างหุ้นส่วน บริษัท ชื่อในดวงตรานั้นต้องชัดเจนและตรงกับชื่อที่ขอจดทะเบียน หรือตรงกับชื่อภาษาต่างประเทศที่ขอใช้และต้องมีคำแสดงประเภทของนิติบุคคลด้วย
  3. กรณีขอจดทะเบียนดวงตราสำคัญมากกว่า 1 ดวง ให้ผู้ขอจดทะเบียนระบุให้ชัดเจนไว้ในรายการจดทะเบียนอย่างอื่นซึ่งเห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบว่าดวงตราดวงใดใช้ในกรณีใด
  4. บริษัทจะขอจดทะเบียนดวงตราสำคัญหรือไม่ก็ได้เว้นแต่อำนาจกรรมการ จะระบุว่าต้องประทับตราสำคัญบริษัทก็ต้องขอจดทะเบียนดวงตราสำคัญด้วย

ถาม 7 – คำว่า Company Limited หรืออักษรย่อ Co., Ltd. ต่างจาก Limited หรืออักษรย่อ Ltd. อย่างไร ในเชิงกฎหมายมีการอ้างอิงได้ไหม

ตอบ 7 – การใช้ชื่อภาษาต่างประเทศซึ่งมีความหมายว่า บริษัท นั้น กำหนดให้ใช้ Company Limited (ย่อว่า Co., Ltd.) หรือ ในกรณีที่ไม่ใช้คำว่า Company หรือคำว่า Corporation ให้ใช้คำว่า Limited (ย่อว่า Ltd.) คำเดียวในตอนท้ายชื่อ สำหรับบริษัทจำกัดจดทะเบียนในสหรัฐอเมริกา ให้ใช้คำว่า Corporation หรือ Incorparated (ย่อว่า Inc.) ตอนท้ายชื่อ ทั้งนี้เป็นไปตามประกาศกระทรวงเศรษฐการ เรื่อง อักษรต่างประเทศ ซึ่งมีความหมายว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล” “ห้างหุ้นส่วนจำกัด” และ “บริษัทจำกัด

“ห้างหุ้นส่วนจำกัด” และ “บริษัทจำกัด”

อาศัยความตามาตรา ๓ (๒) และมาตรา ๕ (๒)แห่งพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. ๒๔๙๙  กระทรวงเศรษฐการ ประกาศอักษรต่างประเทศ ซึ่งมีความหมายว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล” “ห้างหุ้นส่วนจำกัด” และบริษัทจำกัด” คือ

co-reg1

ถาม 8 – สนใจ จะจดทะเบียนบริษัท เพื่อ ขายสินค้า ผ่านทางอินเตอร์เน็ท (ทำเวปไซท์ โชว์สินค้า และให้ลูกค้าโอนเงินเพื่อชำระค่าสินค้า ส่วนสินค้าจัดส่งให้ทาง EMS) ไม่ทราบว่า หลังจากจดทะเบียนบริษัท แล้ว ต้องขออนุญาตอะไรเพิ่มติมหรือไม่

ตอบ 8 – หากท่านไม่ได้เป็นผู้ผลิต และไม่ได้เป็นผู้นำเข้า และเข้าใจว่าท่านทำธุรกกรรผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ท ดังนั้น ท่านต้องขอ จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 และ ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2553 ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจ ดังต่อไปนี้ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

1.การซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
2. การบริการอินเทอร์เน็ต
3. การให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
4. การบริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลต้องจดทะเบียนพาณิชย์ โดยยื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์ ณ สำนักงานทะเบียนพาณิชย์กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล ที่สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดเฉพาะในท้องที่นอกเขตเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล

ผู้ประกอบพาณิชยกิจดังกล่าวไม่จดทะเบียนพาณิชย์ แสดงรายการเท็จ หรือไม่มาให้นายทะเบียนพาณิชย์สอบสวน ไม่ยอมให้ถ้อยคำ หรือไม่ยอมให้ทะเบียนพาณิชย์ตรวจสอบมีความผิด เป็นไปตามกฎหมาย

ถาม 9 – วัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนและบริษัท ที่ต้องห้าม ตามกฎหมาย มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ห้ามทำ ได้แก่)

ตอบ 9 – วัตถุประสงค์ที่ต้้องห้าม (ไม่ให้ประกอบธุรกิจ เว้นแต่ได้รับอนุญาต) ได้แก่

  1. ขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือขัดต่อรัฐประกาศนโยบาย
  2. ใช้คำหรือข้อความที่มีความหมายไม่ชัดเจน หรือไม่กำหนดขอบเขตให้ชัดเจนแน่นอน
  3. ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
  4. ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจหลักทรัพย์ กิจการข้อมูลเครดิต บริหารสินทรัพย์ กิจการคลังสินค้า กิจการไซโล หรือกิจการห้องเย็น เว้นแต่จะไดด้รับอนุญาตให้จัดตั้งเพื่อประกอบธุรกิจดังกล่าวจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  5. กิจการจัดหางาน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการดังกล่าวจากกรรมการจัดหางาน
  6. กิจการนายหน้า ตัวทน และตัวแทนค้าต่างในธุรกิจต่างๆ เว้นแต่จะได้ระบุว่ายกเว้นกิจการประกันภัย การหาสมาชิกให้สมาคม และการค้าหลักทรัพย์
  7. กิจการเกี่ยวกับการรับจำนองทรัพย์สิน เว้นแต่จะระบุไว้โดยชัดแจ้งว่า “โดยมิได้รับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนและใช้ประโยชน์จากเงินนั้น”
  8. กิจการนายหน้าประกันภัย เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประก้ันภัย
  9. กิจการแชร์
  10. กิจการซื้อขายสินค้าล่างหน้า (คอมโมดิตี้) เว้นแต่จะได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจดังกล่่าวจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  11. กิจการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ธุรกิจขายตรง ธุรกิจตลาดแบบตรง การศึกษา โรงเรียน สถาบันการศึกษา เว้นแต่จะได้ระบุข้อความว่า “เมื่อได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว”

ถาม 10 – ไม่ทราบว่า ถ้าบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จะมาเซ็นต์เอกสาร ในฐานะ กรรมการบริษัท ได้หรือไม่

ตอบ 10 – ผู้เยาว์ จะเข้าเป็น หุ้นส่วน ผู้เริ่มก่อการ กรรมการ หรือ ผู้ชำระบัญชี ก็ต่อเมื่อ

  1. ผู้เยาว์มีอายุไม่้น้อยกว่า 12 ปี
  2. ผู้เยาว์ได้ลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน หรือเอกสารประกอบด้วยตนเอง

ในกรณีผู้เยาว์เข้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนโดยการรับมรดก ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนเมื่อปรากฎว่า

  • ผู้เยาว์ได้ลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน หรือเอกสารประกอบด้วยตนเอง หรือ
  • ผู้เยาว์ที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี โดยมีผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายมือชื่อแทนในคำขอจดทะเบียน หรือเอกสารประกอบ

ถาม 11 – การนำบริษัท(ที่จดทะเบียนแล้ว) มาเป็นผู้ถือหุ้นและผู้เริ่มก่อการในบริษัทจดทะเบียนใหม่ สามารถทำได้หรือไม่

ตอบ 11 – การนำบริษัทที่มีอยู่แล้ว(จดทะเบียนแล้ว) มาถือหุ้นในบริษัทใหม่ สามารถทำได้ แต่จะมาเป็นผู้่ก่อการไม่ได้ กล่าวคือ เมื่อเริ่มต้นท่านจะต้องจดทะเบียนบริษัทโดยใช้ชื่อบุคคลอย่างน้อย 3 ท่านก่อน แล้วเมื่อจดทะเบียนแล้วเสร็จ ท่านจึงโอนหุ้นให้บริษัท หากทำอย่างนี้นายทะเบียนจะปฎิเสธการรับจดทะเบียนไม่ได้

ถาม 12 – การลงลายมือชื่อ ผู้เป็นหุ้นส่วน ผู้ก่อการ กรรมการ ในคำขอจดทะเบียน สามารถให้ผู้อื่น ลงลายมือชื่อแทน โดยการมอบอำนาจได้หรือไม่

ตอบ 12 – ไม่สามารถทำได้ ผู้เป็นหุ้นส่วน ผู้ก่อการ กรรมการ จะต้องลงลายมือชื่อด้วยตัวเองเท่านั้น หากไม่สามารถลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียน ก็ให้ ลงลายมือชื่อต่อหน้า เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง… ทนายความ ผู้สอบบัญชี และบุคคลอื่น ตามที่นายทะเบียนกลางประกาศกำหนด

เพิ่มเติม

การลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบ ผู้เป็นหุ้นส่วน ผู้เริ่มก่อการ กรรมการ หรือ ผู้ชำระบัญชี ต้องลงลายมือชื่อด้วยตัวเอง

การลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน กระทำได้ตามวิธี ดังนี้

  1. การลงลายมือขื่อในคำขอจดทะเบียนในราชอาณาจักร กระทำโดย
    1. ลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียน
    2. ลงลายมือชื่อต่อหน้าพนักงานฝ่ายปกครอง ตำรวจชั้นผู้ใหญ่ซึ่งประจำอยู่ท้องที่ที่ผู้ขอจดทะเบียนมีภูมิลำเนาอยู่ สามัญสมาชิกวิสามัญแห่งเนติบัณฑิตยสภา ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี หรือบุคคลอื่นตามที่นายทะเบียนกลางประกาศกำหนด

    การลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียน ผู้ลงลายมือชื่อต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อนายทะเบียนเพื่อตรวจสอบ และให้นายทะเบียนบันทึกข้อความ “ได้เห็นต้นฉบับแล้ว” ในสำเนาบัตรประจำตัวแล้วลงมือชื่อกำกับไว้เป็นหลักฐาน

    กรณีผู้ลงลายมือชื่อต่อหน้าบุคคลข้างต้นเป็นคนต่างด้าว ให้ส่งสำเนาหลักฐานซึ่งแสดงว่าคนต่างด้าวนั้นได้เข้ามาในประเทศไทยขณะลงลายมือชื่อต่อหน้าประกอบคำขอจดทะเบียนด้วย

  2. การลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนในต่างประเทศ ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าบุคคลดังต่อไปนี้
    1. เจ้้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของสถานฑูตไทยหรือสถานกงสุลไทย หรือหัวหน้าสำนักงานสังกัดกระทรวงพาณิชย์ซึ่งรับผิดชอบการดำเนินงาน ณ ประเทศนั้น หรือเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายให้ทำการแทนบุคคลดังกล่าว หรือ
    2. บุคคลซึ่งสามารถให้การรับรองที่สมบูรณ์ตามแบบของกฎหมายแห่งประเทศนั้น
    3. บุคคลที่ควรเชื่อถือสองคนมาลงลายมือชื่อรับรองต่อหน้านายทะเะบียนว่าเป็นลายมือชื่อผู้นั้นจริง

การลงบายมือตามวิธีข้างต้น ให้ถือว่าลายมือชื่อนั้นเป็นลายมือชื่อที่ถูกต้องและนายทะเบียนไม่ต้องตรวจสอบลายมือชื่อนั้นอีก

ถาม 13 – ที่ตั้งสำนักงาน ในการจดทะเบียนบริษัท  บริษัทจะต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสถานที่ตั้งนั้นหรือไม่ และเป็นไปตามกฎหมายใด

ตอบ 13 – การระบุสถานที่ตั้งของนิติบุคคลในการจดทะเบียนนิติบุคคลเป็นไปตามบทบัญญัติไว้เฉพาะในส่วนของบริษัทจำกัดว่า บริษัทจำกัดต้องมีสำนักงานบอกทะเบียนไว้แห่งหนึ่ง ซึ่งธุรการติดต่อและคำบอกกล่าวทั้งปวงจะส่งถึงบริษัทได้ ณ ที่นั้น ทั้งนี้ บทบัญญัติมาตราดังกล่าวมิได้มีข้อกำหนดว่าบริษัทจำกัดจะต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสถานที่ตั้งนั้น จึงอาจจะได้มาซึ่งสิทธิในการใช้เป็นสถานที่ตั้งสำนักงานของบริษัทโดยการเช่าหรือได้รับความยินยอมมากเจ้าของกรรมสิทธิ์ก็ได้

หุ้นบุริมสิทธิ ประสงค์จะกำหนดสิทธิประโยชน ์ในหุ้นบุริมสิทธิที่แตกต่างจากหุ้นสามัญ ดังนี้

ถาม 14 – ในการจ่ายเงินปันผลคราวใดๆ ในหุ้นบุริมสิทธิมีสิทธิในเงินปันผลที่บริษัทประกาศจ่ายก่อนหุ้นสามัญเป็นจำนวนร้อยละ 10 ของมูลค่าหุ้นบุริมสิทธิที่ชำระแล้วและหากมีเหลือ ให้จ่ายแก่หุ้นสามัญเป็นจำนวนเท่าๆ กัน ทั้งนี้หากปรากฏว่าเงินปันผลที่ประกาศจ่ายมีจำนวนไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าหุ้นบุริมสิทธิที่ชำระแล้วดังกล่าว เงินปันผลทั้งจำนวนให้จ่าย ให้แก่หุ้นบุริมสิทธิเท่านั้น
ตอบ 14 – ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1108 (4) ได้กำหนดให้ที่ประชุมตั้งบริษัทวางกำหนดสภาพและบุริมสิทธิของหุ้นบุริมสิทธิ จึงเทียบเคียงได้ว่า หุ้นบุริมสิทธิจะมีสภาพและบุริมสิทธิจะมีสภาพและบุริมสิทธิแห่งหุ้นเป็นอย่างไร จะต้องกำหนดโดยที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น
แต่ทั้งนี้ข้อกำหนดสิทธิและสภาพดังกล่าวต้องไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ดังนั้น เมื่อมีประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ได้กำหนดข้อบังคับ ในเรื่องสิทธิเกี่ยวกับการจ่ายเงินปันผลการได้รับเงินคืน เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติให้เลิกบริษัทและชำระบัญชี และการออกเสียงลงคะแนนไว้ตามที่แจ้งมาโดยไม่ขัดต่อกฎหมายหรือ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนก็สามารถกระทำได้

ถาม 15– ในการกำหนดจ่ายเงินปันผลในกรณีต่างๆ ดังต่อไปนี้ บริษัทฯ สามารถกระทำได้หรือไม่ โดยไม่ขัดกับข้อบังคับของบริษัทฯ ตามที่กำหนดไว้ข้างต้น ข้อเท็จจริงบริษัทมีทุน 1 ล้านบาทแบ่งเป็นหุ้นบุริมสิทธิ 100 หุ้น หุ้นสามัญ 900 หุ้น ราคาหุ้นละ 1,000 บาท ชำระแล้วหุ้นละ 500 บาท รวมทุนชำระแล้ว 500,000 บาท

  • กรณีที่ 1 หากปรากฏว่าบริษัทมีมติประกาศจ่ายเงินปันผลจำนวน 4,500บาท ซึ่งจำนวนร้อยละ 10 ของมูลค่าหุ้นบุริมสิทธิชำระแล้วในกรณีนี้คิดเป็นมูลค่า 5,000 บาท ดังนั้น เงินปันผลทั้งหมดจะต้องจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิเท่านั้นเป็นจำนวนหุ้นละ 4.50 บาท ส่งผลให้ผู้ถือหุ้นสามัญจะไม่ได้รับเงินปันผลเลย
  • กรณีที่ 2 หากบริษัทมีมติประกาศจ่ายเงินปันผลจำนวน 95,000 บาท บริษัทจะต้องจ่ายเงินปันผลจำนวน 5,000 บาท ให้แก่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิก่อนส่วนที่เหลืออีก 90,000 บาท จึงจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญเป็นจำนวนเท่าๆ กันคือ 100 บาทต่อหุ้น
  • กรณีที่ 3 หากในกรณีที่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิต้องการจะโอนหุ้นบุริมสิทธิต้องการจะโอนหุ้นของตนให้แก่ผู้อื่น และก่อนการโอนหุ้นดังกล่าวบริษัทมีมติประกาศจ่ายเงินปันผลจากเงินกำไรสะสมทั้งหมดของบริษัทดังนี้ บริษัทจะต้องจ่ายเงินปันผลจำนวน 5,000 บาท ให้แก่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิก่อนและหากยังคงมีเงินกำไรสะสมเหลืออยู่ให้นำมาเฉลี่ยจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญเป็นจำนวนเท่าๆ กัน

ตอบ 15 – การจ่ายเงินปันผลในกรณีต่างๆ โดยไม่ขัดกับข้อบังคับตามที่กำหนดไว้นั้น ตามกรณีที่ 1 และกรณีที่ 2 สามารถกระทำได้ส่วนในกรณีที่ 3 เนื่องจากมีรายละเอียดไม่ชัดเจน จึงไม่ขอตอบครับ

ถาม 16 – ข้อบังคับ บริษัทจำกัดจะกำหนดข้อบังคับในการส่งหนังสือ นัดประชุมผู้ถือหุ้นไว้แตกต่างจากบทบัญญัติของกฎหมาย ได้หรือไม่

ตอบ 16 – ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1175 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2551 มิได้มีบทยกเว้นให้บริษัทกำหนดข้อบังคับชัดกับบทบัญญัติของกฎหมายได้ แต่เป็นบทบังคับบริษัทจำกัดในการส่งหนังสือเรียกประชุมผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีชื่อในสมุดทะเบียนของบริษัทไปรษณีย์ตอบรับ ก่อนวันที่ประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เว้นแต่เป็นคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เพื่อลงมติพิเศษให้กระทำการดังว่านั้น ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่าสิบสี่วัน ดังนั้น บริษัทจึงไม่สามารถปฏิบัติตามข้อบังคับเดิมของบริษัทที่ขัดกับพระราชบัญญัตินี้ได้อีกต่อไป และไม่สามารถดำเนินการอื่นแทนการลงพิมพ์โฆษณาคำบอกกล่าวเรียกประชุมในหนังสือพิมพ์ได้

ถาม 17 – จองชื่อบริษัททางอินเตอร์เน็ท ชื่อที่จองนี้จะหมดอายุ ภายใน 30 วัน ถ้าจะจองชื่อใหม่ ต้องรอชื่อบริษัทที่จอง หมดอายุก่อนไหม (รอให้ครบ 30 วัน)

ตอบ 17 – คุณสามารถจองชื่อใหม่ ได้ทันทีครับมื่อได้รับอนุมัติ (ตอนนี้ การจองชื่อต้อง จองผ่านอินเตอร์เน็ทเท่านั้น และชื่อจะได้รับอนุมัติภายใน 20 นาที แต่บ่อยครั้งที่จะอนุมัติใช้เวลาเป็นเชั่วโมง) ก็สามารถนำชื่อไปจดทะเบียนได้เลย อย่างไรเสีย ชื่อเดิมไม่มีผลต่อการจองชื่อใหม่ และจะหมดอายุไปเองโดยที่คุณไม่ต้องทำอะไรทั้งนั้นครับ

ถาม 18 – ยกเลิกชื่อที่จองทางอินเตอร์เน็ท

ตอบ ขอให้ดูคำตอบข้อ 17 ข้างบนก่อนครับ แต่หากจำเป็นต้องยกเลิกชื่อ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม เช่น ไม่ต้องการมีส่วนรวมในการขั้นตอนการเปิดบริษัท เป็นต้น คุณจะยกเลิกชื่อเดิมได้ดังนี้ครับ ผู้จองชื่อสามารถยื่นหนังสือขอยกเลิกชื่อที่จองพร้อมคืนหลักฐานใบจองชื่อได้ที่ฝ่ายจองชื่อนิติบุคคล สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1 – 7 หรือสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด ในกรณีสำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1-7 หรือสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดเป็นผู้รับหนังสือขอยกเลิกชื่อที่จองและหลักฐานใบจองชื่อ ให้สำนักงานที่รับหนังสือดำเนินการโทรสารหนังสือขอยกเลิกและใบจองชื่อไปยังฝ่ายจองชื่อนิติบุคคลทันที ชื่อที่ได้มีการยกเลิกการจอง นายทะเบียนจะอนุญาตให้จองชื่อนั้นได้หลังจากวันที่ได้ยกเลิกแล้ว 5 วัน

ถาม 19 – อายุกรรมการ และ อายุของผู้ถือหุ้น ถ้ายังไม่บรรลุนิติภาวะ จะมาเซ็นต์เอกสาร ในฐานะ กรรมการบริษัท ได้หรือไม่

ตอบ 19 – ผู้เยาว์ จะเข้าเป็น หุ้นส่วน ผู้เริ่มก่อการ กรรมการ หรือ ผู้ชำระบัญชี ก็ต่อเมื่อ

  1. ผู้เยาว์มีอายุไม่้น้อยกว่า 12 ปี
  2. ผู้เยาว์ได้ลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน หรือเอกสารประกอบด้วยตนเอง

ในกรณีผู้เยาว์เข้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนโดยการรับมรดก ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนเมื่อปรากฎว่า

  • ผู้เยาว์ได้ลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน หรือเอกสารประกอบด้วยตนเอง หรือ
  • ผู้เยาว์ที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี โดยมีผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายมือชื่อแทนในคำขอจดทะเบียน หรือเอกสารประกอบ

ถาม 20 – บริษัทร่วมทุนกันต่างชาติ จะลงลายมือชื่อ เซ็นต์เอกสาร ที่ต่างประเทศได้ไหม

ตอบ 20 – สามารถลงลายมือชื่อ เซ็นต์เอกสาร ที่ต่างประเทศได้ แต่ต้องปฎิบัติตาม ข้อกำหนดข้างล่างนี้

การลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนในต่างประเทศ ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าบุคคลดังต่อไปนี้

  1. เจ้้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของสถานฑูตไทยหรือสถานกงสุลไทย หรือหัวหน้าสำนักงานสังกัดกระทรวงพาณิชย์ซึ่งรับผิดชอบการดำเนินงาน ณ ประเทศนั้น หรือเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายให้ทำการแทนบุคคลดังกล่าว หรือ
  2. บุคคลซึ่งสามารถให้การรับรองที่สมบูรณ์ตามแบบของกฎหมายแห่งประเทศนั้น
  3. บุคคลที่ควรเชื่อถือสองคนมาลงลายมือชื่อรับรองต่อหน้านายทะเบียนว่าเป็นลายมือชื่อผู้นั้นจริง

ถาม 21 – การลงทุนด้วยแรง สามารถทำได้หรือไม่

ตอบ 21 – การลงทุนด้วยแรงสามารถทำได้ โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้

กรณีบริษัทจำกัด

  • แรงงานที่จะนำมาตีเป็นค่าหุ้นนในบริษัทต้องเป็นแรงงานที่ได้กระทำไปแล้ว

กรณีห้างหุ้นส่วนจำกัด

  • ไม่อนุญาตให้หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดลงทุนด้วยแรง
  • แรงงนที่จะนำมาตีราคาเป็นทุนจดทะเบียนในห้างหุ้นส่วนจะเป็นแรงงานที่ได้กระทำไปแล้ว หรือกระทำภายหลังจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นนส่วนก็ได้

ถาม 22 – การจดทะเบียนในเขตกรุงเพพฯ สามารถจดทะเบียนที่ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขตแห่งใดแห่งหนึ่ง ได้ทุกกรณีหรือไม่

ตอบ ไม่ได้ ทุกรณีครับ

กล่าวคือ โดยทั่วไป สามารถจดทะเบียน ณ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง หรือ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต ได้ เ้ว้นแต่ ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่มีวัตถุที่ประสงค์ประกอบกิจการ
หลักทรัพย์ คลังสินค้า ห้องเย็น ไซโล นายหน้าประกันภัย บริหารสินทรัพย์ ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนที่ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลางเท่านั้น

ถาม 23 – ต้องการเปิดบริษัทเพื่อจัดหาคนงาน โดยมีผู้ถือหุ้นและกรรมการเป็นคนมาเลเซีย ไม่ทราบว่า สามารถจดทะเบียนบริษัทได้ไหม และต้องทำอย่างไรบ้าง

ตอบ การประกอบกิจการจัดหางาน นั้นมีความซับซ้อนกว่าธุรกิจทั่วไป เพราะมีการควบคุมอย่างใกล้ชิดโดย กองตรวจและคุ้มครองคนหางาน กรมการจัดหางาน โดยมีข้อพึงพิจารณาดังต่อไปนี้

  • การจดทะเบียน ทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะไม่อนุญาตให้จดโดยมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับจัดหางาน จนกว่า บริษัทจะได้รับใบอนุญาต นั้นหมายถึง
    ต้องจดด้วยวัตถุประสงค์ทั่วไปก่อน แล้วขอใบอนุญาต แล้วจึงไปแก้ไขเพิ่มวัตถุประสงค์ เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ดังกล่าว
  • ตามเงื่อนไข ต้องมีกรรมการคนไทยที่มีอำนาจลงนาม เป็นผู้ขอเท่านั้น กรรมการชาวต่างชาติ ไม่สามารถยื่นคำขอได้
  • ต้องมีการวางหลักทรัพย์ เพื่อเป็นประกัน เป็นจำนวนเงินตามที่กำหนดในกฏกระทรวง แต่ต้องไม่ต้อยกว่าหนึ่งแสนบาท วางไว้กับนายทะเบียน เพื่อเป็นหลักประกัน
    การปฎิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ (พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528)

คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอ ผู้ขออนุญาตจัดหางานในประเทศ กรณีเป็นนิติบุคคล ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้

  1. นิติบุคคลนั้นต้องมีสัญชาติไทย หรือ จดทะเบียนภายใต้กฏหมายไทย
  2. นิติบุคคลนั้น ต้องไม่เคยเป็นผู้รับอนุญาตจัดหางาน
  3. นิติบุคคลนั้น ต้องไมนผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตจัดหางาน
  4. นิติบุคคลนั้น ต้องไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตจัดหางาน
  5. นิติบุคคลนั้น ต้องไม่ไม่เปป็นไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ หรือ ล้มละลาย
  6. นิติบุคคลนั้น ต้องไม่ประกอบธุรกิจ หรือ เคยประกอบธุรกิจ ที่เสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
  7. กรรมการของ นิติบุคคลนั้น ไม่เป็นกรรมการ หุ้นส่วน หรือ ผู้จัดการของนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้รับอนุญาตจัดหาแรงงานอื่น
  8. กรรมการของ นิติบุคคลนั้น ไม่เป็นกรรมการ หุ้นส่วน หรือ ผู้จัดการของนิติบุคคลซึ่งถูกเพิกถอนใบอนุญาตจัดหางาน ระหว่างใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจัดหางาน
  9. นิติบุคคลนั้น ต้องมีผู้จัดการ (ผู้รับอนุญาต) ต้องเป็นคนไทย และเป็นหนึ่งในกรรมการผู้มีสิทธิ์ลงนามผูกพันบริษัทด้วย

ถาม 24 – ต้องการจดทะเบียนบริษัท แล้วขอใบอนุญาตทำงานให้ชาวต่างชาติ ไม่ทราบว่า มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

ตอบ – การขอใบอนุญาตทำงาน นั้น เป็นเรื่องที่ต้องวางแผน ตั้งแต่เริ่มจดทะเบียนบริษัท ครับ เพราะ ต้องทราบข้อจำกัดต่างๆ เกี่ยวกับการขอใบอนุญาตทำงานและวีซ่าทำงน มีสูตรง่ายๆ ที่ต้องจำไว้ครับดังนั้

ใบอนุญาต สำหรับการทำงานของชาวต่างชาติ ต้องมี

  • บริษัทจดทะเบียน ต้อมีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 2 ล้าบาท ซึ่งขอใบอนุญาตให้ชาวต่างชาติได้ 1 คน และต้องเป็นสัดส่วนเช่นนี้เรื่อยไป
  • บริษัทจดทะเบียน ต้องว่าจ้างพนักงานคนไทย โดยต้องจ่ายค่าจ้างไม่น้อยกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด โดยต้องว่าจ้างพนักงานคนไทย 4 คน ซึ่งขอใบอนุญาตให้ชาวต่างชาติ 1 คน และต้องเป็นสัดส่วนเช่นนี้เรื่อยไป
  • ต้องมีสถานประกอบการ ในประเทศไทย และพร้อมให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ พร้อมกันนี้ ต้องแสดงภาพถ่ายในสถานที่ทำงาน พร้อมพนักงาน ขณะทำงาน เพื่อเป็นหลักฐาน ประกอบการขออนุญาต

วีซ่าที่จะขอใบอนุญาตได้นั้น มี 2 ประเภท คือ (Nonimmigrant VISA Type B and O ) เท่านั้น เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะขอ ใบอนุญาตท่านจะต้องขอเปลี่ยนแปลงประเภทของการตรวจลงตราของวีซ่าก่อน ซึ่งการขอเปลี่ยนแปลงประเภทการตรวจลงตราของวีซ่าสามารถทำได้ ทั้ง ในประเทศและ ต่างประเทศ แต่ในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนใหม่ เราขอแนะนำให้ท่านไปขอวีซ่า Non B นอกราชอาณาจักรไทย ซึ่งขั้นตอนการขอใบอนุญาต ทำงาน อาจสรุปอย่างง่ายได้ดังนี้

  • จดทะเบียนบริษัทใหม่ ด้วยทุน 2 ล้านบาท พร้อมขออนุญาตที่จำเป็น สำหรับธุรกิจที่ประสงค์
  • ยื่นแบบภาษีรายเดือน พร้อมแบบประกันสังคมรายเดือน สำหรับเดือนแรก ก่อน แล้ว
  • ขอการอนุมัติจากกระทรวงแรงงาน เกี่ยวกับจดหมายเชิญพนักงานเข้ามาทำงานในประเทศไทย ณ ขณะที่รออนุมัติ ชาวต่างชาติที่ต้องการขอใบอนุญาตทำงานต้องอยู่นอกราชอาณาจักรไทย (กรณีนี้เป็นการขออนุมัติเพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการขอ วีซ่า Nonimmigrant VISA Type B) นอกราชอาณาจักรไทยเท่านั้น กรณีขอในไทยไม่ต้องขออนุมัติ
  • ขอวีซ่า ประเภท NON-B visa จากสถานทูตไทยในต่างประเทศ
  • หลังได้ Nonimmigrant VISA Type B มาแล้ว ท่านก็สามารถขอ ใบอนุญาตต่อได้เลยเมื่อเข้ามาเมืองไทย และหลังจากได้ใบอนุญาตแล้ว ก็ขอต่อวีซ่า 1 ปีต่อจากนั้นได้เลยเช่นกัน ซึ่งขั้นตอนในการขอยื่นทุกครั้ง จะต้องมีเอกสารประกอบเช่น แบบภาษี และแบบประกันสังคม อย่างน้อย 3 เดือน รวมถึงงบการเงิน เป็นต้น

ถาม 25 - ผู้ถือหุ้นเสียชีวิต เนื่องจากคนในครอบครัวเสียชีวิต ผู้จัดการกองมรดกต้องดำเนินการอย่างไรในการถือครองหุ้น

ตอบ 25 - ผู้จัดการมรดกดำเนินการแบ่งปันหุ้นอันเป็นทรัพย์มรดกของผู้เสียชีวิตให้กับผู้มีสิทธิได้รับมรดก และผู้มีสิทธิในหุ้นนั้น นำใบหุ้นไปเวนคืนกับบริษัท พร้อมหลักฐานอันสมควรไปแสดง เช่น ใบหุ้นเดิมของผู้เสียชีวิต พร้อมหลักฐานการได้รับสิทธิในใบหุ้นนั้นที่ผู้จัดการมรดกแบ่งปันให้ หลักฐานการได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก เพื่อให้บริษัทรับบุคคลที่ได้รับสิทธิในใบหุ้นนั้นลงทะเบียนเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทต่อไป ตาม ปพพ. มาตรา 1132 ทั้งนี้หากบริษัทประสงค์จะยื่นแบบสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ฉบับใหม่ทันที ให้ทำหนังสือนำส่งลงชื่อโดยกรรมการผู้มีอำนาจ หรือจะนำส่งคราวเดียวเมื่อสิ้นปีพร้อมงบการเงินตามปกติที่จะต้องยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าอยู่แล้วก็ได้ (บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันประชุมสามัญประจำปี)

ถาม 26 - หากผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดต้องการซื้อขายหุ้นระหว่างกันเอง ต้องทำหลักฐานอะไรและอย่างไรบ้างครับ

ตอบ 26 - การโอนหุ้นนั้นเป็นเรื่องภายในบริษัท โดยผู้ถือหุ้นจะต้องทำสัญญาโอนหุ้นให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด (ปพพ. มาตรา 1129) หลังจากที่มีการโอนหุ้นเรียบร้อยแล้ว ให้บริษัทจดแจ้งการโอนหุ้นดังกล่าวลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น หลังจากนั้นหากบริษัทประสงค์จะยื่นแบบสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ฉบับใหม่ทันที ให้ทำหนังสือนำส่งลงชื่อโดยกรรมการผู้มีอำนาจ หรือจะนำส่งคราวเดียว

ถาม 27 - ถ้าชาวต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุนต้องมีทุนขั้นตํ่าใการจดทะเบียนหรือไม่

ตอบ 27 - แนวคําตอบขึ้นอยู่กับจํานวนหุ้นที่เป็นของคนต่างด้าว โดยหากร่ วมลงทุนตั้งแต่ 50% ขึ้นไปต้องมีทุนขั้นตํ่าดังนี้

1. หากเป็นธุรกิจที่ไม่อยู่ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวต้องมีทุนขั้นตํ่าไม่น้อยกว่าสองล้านบาท

2 .หากเป็นธุรกิจที่อยู่ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวต้องมีทุนขั้นตํ่าสําหรับแต่ละธุรกิจไม่น้อยกว่าสามล้านบาท

ถาม 28 - ในกรณีที่บริษัทต่างชาติจะมาร่วมลงทุนกับบริษัทจํากัดที่จดใต้กฎหมายไทย ต้องขออนุญาตหรือไม่

ตอบ 28 - หากบริษัทต่างชาติจะมาร่วมลงทุนกับบริษัทจํากัดที่จดทะเบียนภายใต้กฎหมายไทย ตั้งแต่ 50% ขึ้นไป และประกอบธุรกิจตามบัญชีสองของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี หรือประกอบธุรกิจบัญชีสามต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

ถาม 29 - การทําธุรกิจแฟรนไชส์ทําได้อย่างไร และต้องขออนุญาตจากไหนบ้าง

ตอบ 29 - ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าแฟรนไชส์คืออะไรเสียก่อน เพราะหลายท่านอาจเข้าใจผิดว่าการทําธุรกิจของท่านเป็นแฟรนไชส์ แต่จริง ๆ แล้วอาจเป็นเพียงการผลิตสินค้าแล้วขายส่งธรรมดาธุรกิจแฟรนไชส์ คือ วิธีการหนึ่ งในการขยายตลาดและช่องทางการจัดจําหน่ายของธุรกิจ โดยผ่านผู้ประกอบการอิสระที่เรียกว่า แฟรนไชส์ ซี ผู้ที่ต้องการขายแฟรนไชส์ คือ แฟรนไชส์ ซอหรือเจ้าของสิทธิเครื่ องหมายการค้า ต้องมีความเชี่ยวชาญหรือ Know How ในการประกอบธุรกิจนั้น และธุรกิจนั้นประสบความสําเร็จมาแล้ว อาจจะเป็นวิธีการในการทําธุรกิจที่จะถ่ายทอดให้ แฟรนไชส์ซี ในรูปแบบของการทํางานทั้ง หมด เช่น ระบบการผลิต ระบบการขาย ระบบการบริหารการตลาด เพื่อที่จะให้รูปแบบวิธีดําเนินธุรกิจ ในทุกๆสาขาให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน สิ่งที่ต้องทําก่อนอื่นคือ ต้องไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า กับกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพราะถ้าไม่มีเครื่องหมายการค้าจะไม่สามารถขายแฟรนไชส์ได้ การขายแฟรนไชส์ ก็คือการทําสัญญาอนุญาตให้ผู้ซื้อใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้า และสอนให้ผู้ซื้อทําธุรกิจอย่างเดียวกับที่แฟรนไชส์ ซอทําอยู่ สัญญาแฟรนไชส์จึงทําในรูปของสัญญาซื้อขาย และกําหนดเงื่อนไขต่างตอบแทนกันระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย เนื่องจากกฎหมายแฟรนไชส์ยังไม่ประกาศใช้บังคับ จึงไม่ต้องขออนุญาต หรือจดทะเบียน ผู้สนใจศึกษารายละเอียดได้จากเว็บไซต์ www.dbd.go.thหรือ2 dbdfranchise.com หรือโทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ทางโทรศัพท์ 02 5475953 หรือสายด่ วน 1570

ถาม 30 - การทําธุรกิจสปาจะมีขั้นตอนอย่างไร และต้องขออนุญาตจากไหนบ้าง

ตอบ 30 - ขอสรุปขั้นตอน ตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

การจัดตั้งธุรกิจ

1. จดทะเบียนบริษัท/ ห้างหุ้นส่วน หรือ หน่วยธุรกิจอย่างอื่น
การขออนุญาตประกอบธุรกิจสําหรับการประกอบธุรกิจสปามีขั้นตอนการจัดตั้งธุรกิจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังนี้นิติบุคคล : ห้างหุ้นส่ วนและบริษัท: ผู้ดําเนินการขอจดทะเบียนได้ที่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สํานักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 1-5 และสํานักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดทั่วประเทศ

การขอมีเลขและบัตรประจําตัวผู้เสียภาษี เมื่อจดทะเบียนบริษัท/ ห้างหุ้นส่วนจำกัด แล้วเสร็จ หมายเลขจอทะเบียนจะเป็นหมายเลขผู้เสียภาษี โดยทันที

2. จดทะเบียนประกันสังคม
การขอเลขที่บัญชีนายจ้างจากสํานักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ทั้งนี้ผู้ประสงค์ขอเลขทะเบียนนิติบุคคล สามารถขอเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรและเลขบัญชีนายจ้าง ได้พร้อมกัน โดยสามารถยื่นเอกสารและหลักฐานเพียงชุดเดียว ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสํานักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดทั่วประเทศ

3. การขออนุญาตต่อกระทรวงสาธารณสุข
สปาเพื่อสุขภาพ ขอใบอนุญาตรับรองมาตรฐานสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ และใบอนุญาตรับรองผู้ดําเนินการสปาเพื่อสุขภาพ สถานที่ติดต่อ สํานักงานส่งเสริมธุรกิจบริการสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข เบอร์โทร 02- 951-0792-94การนวดเพื่อสุขภาพขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะหากเป็นการนวดเพื่อบําบัด วินิจฉัยโรค หรือฟื้นฟูสมรรถภาพ ตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 ผู้ทําการนวดต้องขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต “สาขาการแพทย์แผนไทยหรือเวชกรรมโบราณ”จาก คณะกรรมการวิชาชีพ และต้องดําเนินการในสถานพยาบาลที่ได้รับอนุญาตแล้วเท่านั้น (หากเป็นการนวดเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อย ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค ผู้ที่ทําการนวดไม่จําเป็นต้องขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตผู้ประกอบการโรคศิลปะ) ยื่นขอได้ที่ สํานักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข หรือในต่างจังหวัดยื่นที่ สํานักงานสาธารณสุขอําเภอ หรือ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด


รายละเอียดการใช้บริการ และการจ่ายชำระ ท่านสามารถโอนเงินค่าบริการ พร้อมค่าธรรมเนียมเข้าบัญชี

ธนาคาร
ยูโอบี สาขาลาดพร้าว
ชื่อบัญชี
บริษัท นาราการบัญชี จำกัด
เลขที่บัญชี
739-129-822-3
ประเภทบัญชี
ออมทรัพย์
 
ธนาคาร
กสิกรไทย สาขาบิ๊กซี ลาดพร้าว 2
ชื่อบัญชี
บริษัท นาราการบัญชี จำกัด
เลขที่บัญชี
968 2 04487 7
ประเภทบัญชี
ออมทรัพย์
 
ธนาคาร
ไทยพาณิชย์ สาขาบิ๊กซี ลาดพร้าว 2
ชื่อบัญชี
บริษัท นาราการบัญชี จำกัด
เลขที่บัญชี
928 2 02656 7
ประเภทบัญชี
ออมทรัพย์
 
ธนาคาร
กรุงเทพ สาขาลาดพร้าว 44
ชื่อบัญชี
บริษัท นาราการบัญชี จำกัด
เลขที่บัญชี
203 4 16272 3
ประเภทบัญชี
ออมทรัพย์

 

 

ท่านรู้ไหม - เราให้บริการจดทะเบียน ทั่วประเทศ

เรามีศูนย์บริการจดทะเบียน ในจังหวัด 
ภูเก็ต - ขอนแก่น - ชุมพร - กรุงเทพฯ (ไม่มีค่าเดินทาง)
( จังหวัดอื่น ค่าเดินทาง 1,000 ทั่วประเทศ ยกเว้น กทม และปริมาณฑล)

จดทะเบียนบริษัท หากมีปัญหา เราหาทางออก ให้ท่านได้

จดทะเบียนบริษัท แบบการถือครองหุ้น ส่วนใหญ่โดยชาวต่างชาติ ปรึกษา เราได้

จดทะเบียนบริษัท ภายใต้ สิทธิพิเศษ/ พรบ ต่างด้าว/ สนธิสัญญาระหว่างประเทศ หรือ อื่นๆ เราทำได้

ท่านรู้ไหม - เรามี บริษัทจดทะเบียนพร้อมขาย อายุ 1 - 11 ปี พร้อมโอน ขาย

ท่านรู้ไหม - เรามีความพร้อม ที่จะเติบโต ไปพร้อมกับท่าน เรามทีีมนักบัญชี ผู้เชี่ยวชาญภาษี ผู้สอบบัญชี ทนายความ นักแปลมืออาชีพ ทีมงานจดทะเบียน (ทั้งบริษัททั่้วไป และมหาชน) และมีสัมพันธ์ที่ดีกับ กลุ่มเลขานุการมืออาชีพ ตัวแทนอสังหาริมพทรัพย์ (Relocation Service) ที่สำคัญเรามีเจ้าหน้าที่ต่างชาติประจำสำนักงานฯ และ พนักงานหลายท่านก็สื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี

ท่าน จดทะเบียนเอง แต่ต้องการ ชื่อและหมายเลขผู้สอบบัญชี

เรายินดีจัดเตรียมรายละเอียดให้ท่าน แต่ท่านต้องบริจาคเงินให้ มูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก 
อย่างน้อย 500 บาท
(โอนเงินเสร็จ ส่งสลิป ให้เรา กรุณาระบุชื่อบริษัท ท่านเป็นผู้โอน)

 

ท่าน จดทะเบียนเอง แต่ต้องการ 
ทนาย หรือ ผู้สอบบัญชี รับรองการลงลายมือชื่อ

เรายินดีรับรองให้ฟรี แต่ขอให้ท่านบริจาคเงินให้ มูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก 
อย่างน้อย 1,000 บาท
(กรุณาระบุชื่อบริษัท ท่านเป็นผู้โอน - ติดต่อเราก่อนโอนบริจาค)

 

บริจาค ให้โรงพยาบาล เด็ก 
มูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ

คลิ๊กที่นี้

จดทะเบียนบริษัทด้วยตัวเอง ติดต่อ

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ส่วนกลาง

กรุงเทพฯ และนนทบุรี

ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง (สนามบินน้ำ) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ชั้น 4 ถนนนนทบุรี อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี11000
โทรศัพท์: 0 2547 5155 โทรสาร : 0 2547 5155

สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 1 (ปิ่นเกล้า) อาคารธนาลงกรณ์ ทาวเวอร์ ชั้น 14 ถนนบรมราชชนนี แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700 โทรศัพท์: 0 2446 8160-1,67,69 โทรสาร : 0 2446 8191

สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 2 (พหลโยธิน) อาคารเลขที่ 78/13 ถนนพระราม 6 (สี่แยกประดิพัทธ์) เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์: 0 2618 3340-41,45 โทรสาร : 0 2618 3343-4

สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต3 (รัชดาภิเษก) อาคารปรีชาคอมเพล็ก (ซี2) ชั้น 3 ถนนรัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 (เยื้อง สน.สุทธิสาร) โทรศัพท์: 0 2276 7253,55,56,59,66 โทรสาร : 0 2276 7263

สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 4 (สุรวงศ์) อาคารวรวิทย์ ชั้น G เลขที่ 222 ถนนสุรวงศ์ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทรศัพท์: 0 2234 2951-3 โทรสาร : 0 2266 5852-3

สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต5 (บางนา) อาคารแอมเพิลทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์: 0 2348 3803-5 โทรสาร : 0 2348 3806

สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 6 (ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา) อาคารรัฐประศาสนภักดี(ชั้น 1) ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์: 0 2143 7921-2 โทรสาร : 0 2143 7924

ส่วนภูิมิภาค

ภาคเหนือ

เชียงใหม่ –  สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดเชียงใหม่
โทร. 0 5311 2736-7 โทรสาร. 0 5311 2738
chiangmai@dbd.go.th

เชียงราย –  สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดเชียงราย
โทร. 0 5374 4115-6 โทรสาร. 0 5374 4116
chiangrai@dbd.go.th

น่าน –  สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดน่าน
โทร. 0 5477 4033 , 0 5477 4034 โทรสาร. 0 5477 4034
nan@dbd.go.th

พะเยา –  สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดพะเยา
โทร. 0 5448 4370 โทรสาร. 0 5444 84327
payaow@dbd.go.th

พิจิตร – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดพิจิตร
โทร. 0 5665 2890 -1 , 0 5661 4930
โทรสาร. 0 5665 2891
phichit@dbd.go.th

พิษณุโลก – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดพิษณุโลก
โทร. 0 5521 6780 , 0 5521 6779
โทรสาร. 0 5521 6779
phitsanulok@dbd.go.th

เพชรบูรณ์ – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดเพชรบูรณ์
โทร. 0 5673 7042 ,0 5673 7044
โทรสาร. 0 5673 7043
phetchabun@dbd.go.th

แพร่ – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดแพร่
โทร. 0 5452 2051 , 0 5452 1616
โทรสาร. 0 5452 2052
phrae@dbd.go.th

แม่ฮ่องสอน – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดแม่ฮ่องสอน
โทร. 0 5361 2742 โทรสาร.0 5361 2743
maehongson@dbd.go.th

ลำปาง – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดลำปาง
โทร. 0 5432 3040 , 0 5423 0110 ,
0 5423 0132 โทรสาร. 0 5423 0110
lampang@dbd.go.th

ลำพูน – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดลำพูน
โทร. 0 5356 1483 โทรสาร. 0 5356 1483

อุตรดิตถ์ – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดอุตรดิตถ์
โทร. 0 5544 2787 , 0 5544 2572 โทรสาร. 0 5544 2572
uttaradit@dbd.go.th

ภาคกลาง

กำแพงเพชร – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดกำแพงเพชร
โทร. 0 5570 5171-3 โทรสาร. 0 5570 5172
kamphaengphet@dbd.go.th

ชัยนาท – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดชัยนาท
โทร. 0 5642 1315-6 โทรสาร. 0 5642 1315
chainat@dbd.go.th

นครปฐม – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนครปฐม
โทร. 0 3425 0620 . 0 3424 3652 , 0 3425 0620
โทรสาร. 0 3421 3529
nakhonpathom@dbd.go.th

นครสวรรค์  – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนครสวรรค์
โทร. 0 5622 4560 , 0 5622 3712-3
โทรสาร. 0 5622 3713 , 0 5622 4560
nakhonsawan@dbd.go.th

นนทบุรี – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนนทบุรี
โทร. 0 2591 7882 , 0 2589 7958 โทรสาร. 0 2580 1071
nonthaburi@dbd.go.th

ปทุมธานี – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดปทุมธานี
โทร. 0 2567 0399 , 0 2567 0344 โทรสาร. 0 2567 3146
pathumthani@dbd.go.th

พระนครศรีอยุธยา – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โทร. 0 3534 6227 โทรสาร. 0 3534 6229-30
ayuthaya@dbd.go.th

ลพบุรี – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดลพบุรี
โทร. 0 3642 1347 , 0 3641 3390
โทรสาร. 0 3641 3390 , 0 3641 3168
mailto:lopburi@dbd.go.th

สมุทรปราการ – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสมุทรปราการ
โทร. 0 2701 9255 , 0 2701 9256 โทรสาร. 0 2701 9257
samutprakan@dbd.go.th

สมุทรสงคราม – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสมุทรสงคราม
92/11 หมู่ 1 ถ.เอกชัย ต.ลาดใหญ่ อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม 75000
โทร. 0 3471 6746 , 0 3471 1228 โทรสาร. 0 3471 1228
samutsongkhram@dbd.go.th

สมุทรสาคร – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสมุทรสาคร
โทร. 0 3442 3231 , 0 3442 7529
โทรสาร. 0 3442 3231 , 0 3482 0268
samutsakhon@dbd.go.th

สระบุรี – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสระบุรี
โทร. 0 3622 0293-4 , 0 3622 3205 (ON-LINE) โทรสาร. 0 3622 0294
saraburi@dbd.go.th

สิงห์บุรี – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสิงห์บุรี
โทร. 0 3653 9550 , 0 3653 9679 โทรสาร. 0 3653 9549
singburi@dbd.go.th

สุโขทัย – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสุโขทัย
โทร. 0 5561 1742 , 0 5561 2822 , 0 5561 2558
โทรสาร. 0 5561 1801
sukhothai@dbd.go.th

สุพรรณบุรี – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสุพรรณบุรี
โทร. 0 3554 5705 , 0 3555 5025 โทรสาร. 0 3554 5705
suphanburi@dbd.go.th

อ่างทอง – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดอ่างทอง
โทร. 0 3561 3521-2 โทรสาร. 0 3561 3521
angthong@dbd.go.th

อุทัยธานี – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดอุทัยธานี
โทร. 0 5652 4776 , 0 5651 3819
โทรสาร. 0 5652 4776 , 0 5651 2570
uthaithani@dbd.go.th

ภาคตะวันออก

จันทบุรี – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดจันทบุรี
โทร. 0 3930 1611 โทรสาร. 0 3931 1990
chanthaburi@dbd.go.th
ฉะเชิงเทรา – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดฉะเชิงเทรา
246/3 ถ.หน้าเมือง ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา 24000
โทร. 0 3851 2223 , 0 3881 4436
โทรสาร. 0 3851 2223
chachoengsao@dbd.go.th

ชลบุรี – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดชลบุรี
43/16 ถ.โรงพยาบาลเก่า ต.บางปลาสร้อย อ.เมือง จ.ชลบุรี 20000
โทร. 0 3827 9169 , 0 3827 4812 โทรสาร. 0 3827 9521
chonburi@dbd.go.th

ชลบุรี(สาขาพัทยา) –  สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดชลบุรี สาขาพัทยา
33/32 ถนนสุขุมวิท หมู่ที่ 1 ต.นาเกลือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
โทร. 038-222106 , 038-222108, 038-2222109

ตราด – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดตราด
โทร. 0 3951 1530 โทรสาร. 0 3952 0704
trat@dbd.go.th

นครนายก – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนครนายก
โทร. 0 3731 3181 , 0 3731 2262 โทรสาร. 0 3731 3181
nakhonnayok@dbd.go.th

ปราจีนบุรี – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดปราจีนบุรี
โทร. 0 3745 4070-1 , 0 3745 4071-2 โทรสาร. 0 3745 4070-1
prachinburi@dbd.go.th

สระแก้ว – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสระแก้ว
โทร. 0 3742 5042 โทรสาร. 0 3742 5043
srakae@dbd.go.th

ระยอง – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดระยอง
โทร.0 3869 4053-4 โทรสาร. 0 3869 4054
rayong@dbd.go.th

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

กาฬสินธุ์ – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดกาฬสินธุ์
โทร. 0 4381 1435 โทรสาร. 0 4381 1431
kalasin@dbd.go.th

ขอนแก่น – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดขอนแก่น
โทร. 0 4324 1184 , 0 4324 1519
โทรสาร. 0 4324 1162 , 0 4324 3415
khonkaen@dbd.go.th

ชัยภูมิ – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดชัยภูมิ
โทร. 0 4483 0490-1 โทรสาร. 0 4483 0489
chaiyaphum@dbd.go.th

นครพนม – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนครพนม
โทร. 0 4251 3957 , 0 4251 1887 , 0 4251 3888
โทรสาร. 0 4251 3888
nakhonphanom@dbd.go.th

นครราชสีมา – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนครราขสีมา
โทร.0 4425 9806-7 โทรสาร. 0 4425 9806-7
korat@dbd.go.th

บึงกาฬ – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดบึงกาฬ
โทร.0 4249 1960 โทรสาร. 0 4249 1970
bungkan@dbd.go.th

บุรีรัมย์ – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดบุรีรัมย์
โทร. 0 4466 6539  โทรสาร. 0 4466 6540
buriram@dbd.go.th

มหาสารคาม – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดมหาสารคาม
โทร. 0 4372 5251 โทรสาร. 0 4374 0329
sarakham@dbd.go.th

มุกดาหาร – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดมุกดาหาร
โทร. 0 4263 2733 , 0 4261 4201 โทรสาร. 0 4263 2734
mukdaharn@dbd.go.th

ยโสธร – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดยโสธร
โทร. 0 4571 4069 โทรสาร. 0 4571 4069
yasothon@dbd.go.th

ร้อยเอ็ด – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดร้อยเอ็ด
โทร.0 4351 3736 , 0 4351 3738 , 0 4351 8089
โทรสาร. 0 4351 3736
roiet@dbd.go.th

เลย – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดเลย
โทร. 0 4281 2759 โทรสาร.0 4281 2719
loei@dbd.go.th

ศรีสะเกษ – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดศรีสะเกษ
โทร. 0 4561 4063 , 0 4562 3016 โทรสาร. 0 4561 4063
sisaket@dbd.go.th

สกลนคร – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสกลนคร
โทร. 0 4271 5090 , 0 4271 6537 โทรสาร. 0 4271 5090
sakonnakhon@dbd.go.th

สุรินทร์ – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสุรินทร์
โทร. 0 4451 2807 , 0 4451 8813 โทรสาร.0 4451 2807
surin@dbd.go.th

หนองคาย – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดหนองคาย
โทร. 0 4241 1528 , 0 4242 2813 โทรสาร. 0 4242 2813
nongkhai@dbd.go.th

หนองบัวลำภู – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดหนองบัวลำภู
โทร. 0 4231 2731 , 0 4231 2732 โทรสาร. 0 4231 2732
nongbualumpoo@dbd.go.th

อำนาจเจริญ – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดอำนาจเจริญ
โทร. 0 4545 1453 ,0 4551 2118 โทรสาร. 0 4545 1433
amnatcharoen@dbd.go.th

อุดรธานี – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดอุดรธานี
โทร. 0 4232 4969 , 0 4224 7324 โทรสาร. 0 4224 4192
udonthani@dbd.go.th

อุบลราชธานี – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดอุบลราชธานี
โทร.0 4524 6108
โทรสาร. 0 4504 6108 , 0 4526 2790
ubonratchatani@dbd.go.th


ภาคตะวันตก

กาญจนบุรี – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดกาญจนบุรี
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดกาญจนบุรี
โทร. 0 3451 6856 , 0 3456 4297 , 0 3456 4301 , 0 3456 4314
โทรสาร. 0 3462 2125
kanchanaburi@dbd.go.th

เพชรบุรี – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดเพชรบุรี
โทร. 0 3240 0771 โทรสาร. 0 3240 0772
phetchaburi@dbd.go.th

ราชบุรี – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดราชบุรี
โทร. 0 3232 7586 โทรสาร. 0 3232 7586
ratchaburi@dbd.go.th

ประจวบคีรีขันธ์ – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
โทร. 0 3261 1528 , 0 3260 3495 โทรสาร. 0 3261 1528
prachuap@dbd.go.th

ประจวบคีรีขันธ์ (สาขาหัวหิน) – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าหัวหิน

โทร. 032-520669, 032-520670

ตาก – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดตาก
โทร. 0 5551 4582 โทรสาร. 0 5551 2546
tak@dbd.go.th

ตาก (สาขาแม่สอด) – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดตาก อำเภอแม่สอด
โทร. 055-532404, 055-532405

 

ภาคใต้

กระบี่ – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดกระบี่
โทร. 0 7563 2376 โทรสาร. 0 7563 2377
krabi@dbd.go.th

ชุมพร – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดชุมพร
โทร. 0 7750 2233 , 0 7750 3097 โทรสาร. 0 7750 3097
chumphon@dbd.go.th

ตรัง – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดตรัง
โทร. 0 7521 5107-8 , 0 7521 5266 โทรสาร. 0 7521 5108
trang@dbd.go.th

นครศรีธรรมราช – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนครศรีธรรมราช
โทร. 0 7534 5415 , 0 7534 0065 โทรสาร. 0 7534 5416
nakhonsi@dbd.go.th

นราธิวาส – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนราธิวาส
โทร. 0 7351 4734 , 0 7351 4355 โทรสาร. 0 7551 4734
narathiwat@dbd.go.th

ปัตตานี – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดปัตตานี
โทร. 0 7333 3603 โทรสาร. 0 7333 3606
pattani@dbd.go.th

พังงา – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดพังงา
โทร. 0 7644 0635 , 0 7644 0636 โทรสาร. 0 7644 0636
phangnga@dbd.go.th

พัทลุง – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดพัทลุง
โทร. 0 7461 5162 โทรสาร. 0 7461 1344
phathalung@dbd.go.th

ภูเก็ต – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดภูเก็ต
โทร. 0 7621 7406 , 0 7621 7746 , 0 7621 6578 โทรสาร. 0 7622 4419
phuket@dbd.go.th

ยะลา – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดยะลา
โทร. 0 7324 7100 โทรสาร. 0 7324 7100 . 0 7324 3016
yala@thairegistration.com

ระนอง – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดระนอง
โทร. 0 7782 3743 , 0 7782 1674 โทรสาร. 0 7782 1674
ranong@dbd.go.th

สงขลา – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสงขลา
โทร. 0 7422 5655 โทรสาร. 0 7422 5656 , 0 7422 5657
songkhla@dbd.go.th

สตูล – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสตูล
โทร. 0 7473 0227-8 โทรสาร. 0 7473 0227
satun@dbd.go.th

สุราษฎร์ธานี – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี
โทร. 0 7728 1328 , 0 7721 0303 โทรสาร. 0 7728 2584
suratthani@dbd.go.th

สุราษฎร์ธานี (สาขาเกาะสมุย) – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี สาขาเกาะสมุย
119/18 หมู่ 1 ต.บ่อผุด อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี
โทร. 077-427034